Welcome to the blog of MISS WANWIPA PONGAM doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วันที่ 26 กันยายน 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.






กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 การทำของเล่นที่มีชื่อว่า ปีกนก
  •  วัสดุอุปกรณ์

1.กระดาษ 
2.กรรไกร
3.คลิ๊ปหนีบกระดาษ

  •   วิธีทำ



กระดาษ


พับครึ่ง


ตัดกลางฝั่งใดฝั่งหนึ่งให้ถึงจุดพับครึ่งกลางของกระดาษ


พับปีกกระดาษแยกออกจากกัน


พับฐานกระดาษนิดหน่อยแล้วเสียบคลิ๊ปหนีบกระดาษลงไปดังภาพ




หลังจากนั้นนำไปทดลองเล่น


ให้แถวที่ 1 และ 2 พับครึ่ง แล้วตัดแบ่งครึ่งถึงเส้นตรงกลาง
แถว 3 – 4 – 5 พับครึ่งเช่นเดียวกันแต่ตัดครึ่งหนึ่งพอดี
จากนั้นพับที่ฐานนิดหนึ่ง แล้วเสียบสคิ๊ปไปที่ฐาน
ให้เพื่อนแถวที่ 1 และ 2 ออกมาโยน ผลปรากฏว่า หมุนได้นานกว่าก่อนที่จะตกลงสู่พื้น
แถว 3 – 4 – 5 จะตกเร็วมาก
การทำกิจกรรมเช่นนี้ครูต้องใจเย็น ไม่ใช่บอกเด็กทุกอย่าง บางสิ่งบางอย่างควรส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือกระทำ ทดลอง คิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง เราต้องการให้เด็กเกิดทักษะการสังเกต ได้เกิดความสงสัย ว่า เอ๊ะ! ทำไมแถว1และ2 ถึงหมุนได้นาน และทำไมถึงหมุน แล้วทำไม 3 -4 -5 จึงไม่หมุน อาจจะหมุนแต่เล็กน้อย และทำไมถึงตกลงสู่พื้นได้เร็ว
อันดับแรก ครูต้องช่วยกระตุ้นเด็ก เมื่อเกิดความสงสัย เกิดปัญหา (เอ๊ะ! ทำไมของเราไม่หมุนนะ ) จึงนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบว่ามันต่างกันที่ตรงไหน  เราต้องให้เด็กพิจารณาในทุกๆส่วน เมื่อของเล่นก็เหมือนกัน มันต่างกันตรงไหนนะเมื่อเด็กตอบว่า ต่างกันตรงปีก ปีกเพื่อน 2 แถวแรกยาว แต่ปีก 3-4-5มันสั้นกว่า ก็เกิดการคาดเดาว่า ถ้าให้แถว 3 -4 -5
ตัดปีกให้ยาวเหมือน แถว 1-2 คงจะหมุน นั่นคือเป็นการตั้งสมมติฐาน
อันดับสอง ให้แถว 3 -4 -5 ตัดปีกให้ยาวขึ้นเท่ากับแถว 1-2 แล้วออกมาโยนใหม่อีกครั้ง ผลที่ได้คือ หมุนได้นานขึ้นจริงๆ
แน่นอน การที่โยนปีกนกขึ้นไปข้างบน มีแรงโน้มถ่วง ทุกสิ่งอย่างจะต้องลงสู่ที่ต่ำแน่นอน และ มันมีอากาศต้านอยู่ทำให้มันลงช้า อากาศไปหมุนรองใต้ปีก เปรียบเหมือนกับเครื่องบินนั่นเอง
# ความหลากหลายวิธีการที่เกิดการค้นพบนำไปสู่การทดลอง ทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์
# การลงมือกระทำเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การทำแบบนี้อยู่บนพื้นฐานทฤษฎี constructionism (learning by doing )
# เมื่อเด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุมันสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เครื่องมือคือประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเล่นชิ้นนี้เด็กสามารถทำได้เอง เพราะมันง่าย ไม่ซับซ้อน
# ทบทวนตามหลักการ กระทำ ทดลอง นำไปเปรียบเทียบ เกิดการค้นพบขึ้น
ข้อเสนอแนะ การจักการศึกษาไม่ใช่ที่ โรงเรียนเท่านั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนก็มีส่วนร่วม จึงต้องมีสื่อ เช่นแผ่นพับ หรือการสร้าง Facebook เกี่ยวกับโรงเรียน ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเด็ก ให้แก่ผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ 2 ให้เพื่อนๆออกมาพูดบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปปฐมวัย 5 คน
ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                       ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด  เพิ่มเติม

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้    เพิ่มเติม

สอนลูกเรื่องอากาศ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย เพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขา   เพิ่มเติม

ดอกอัญชัญทดสอบกรด-ด่าง   เพิ่มเติม

กิจกรรมที่ 3 ติด mind map ของแต่ละกลุ่มลงบนกระดานหน้าชั้นเรียน 
                 จากนั้นอาจารย์ก็บรรยายแต่ละแผ่น รวมทั้งอธิบายเพิ่มเติม แนะนำส่วนใดต้องแก้ไขให้ถูกหลักและดีขึ้น  ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีชนิด ลักษณะ สี พื้นผิว ประโยชน์และโทษหรือข้อพึงระวัง สิ่งเหล่านี้เรียกว่า การจัดการสอนแบบอุปนัยหรือนิรนัย ที่สำคัญครูต้องเป็นนักออกแบบด้วย การจัดทำ mind map แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดประสบการณ์ให้กับตัวเด็ก





แก้ไขกลุ่มไก่







การนำไปประยุกตใช้

เราสามารถนำวัสดุที่ไม่แพง วัสดุเหลือใช้ มาทำเป็นของเล่นที่มีประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับเด็กได้ และสามารถสอนในสิ่งที่อยู่รอบๆตัวโดยไม่สิ้นเปลือง 


เทคนิคในการสอน

                              อาจารย์มีกิจกรรมการทำปีกนกที่เด็กๆสามารถทำได้ มาทำร่วมกับนักศึกษาก่อนเข้าบทเรียน โดยเป็นการสร้างความกระตือรือร้นที่จะเรียนในรายวิชานี้  มีการบรรยายของ mind map ของเพื่อนแต่ละกลุ่ม โดยมีกลุ่ม ไก่ กบ ปลา กล้วย ส้ม ผีเสื้อ ปลา แปรงสีฟัน ดอกมะลิ และ กะหล่ำปลี 


การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง : ร่วมตอบอย่างมีความคิดและสนุกสนานกับการเรียนในวันนี้
เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และ ร่วมกันตอบในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอนได้ถาม

อาจารย์ : คอยให้คำแนะนำในการแก้ไข map ของแต่ละกลุ่ม เพื่องานออกมาจะได้ดีและสมบูรณ์  และจะมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำเสมอ ทำให้สนุกไปกับการเรียน และได้รับความรู้ได้อย่างไม่เครียดและน่าเบื่อ



                                 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น