Welcome to the blog of MISS WANWIPA PONGAM doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



กิจกรรมในวันนี้

  • การออกแบบแผ่นพับ สานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง รวมทั้งขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆที่ทางโรงเรียนสามารถให้ผู้ปกครองยื่นมาเข้ามาช่วยเหลือได้เมื่อคราวจำเป็น

หน่วย กบ


หน่วย กล้วย


หน่วย กะหล่ำปลี


หน่วย ดอกมะลิ


หน่วย ผีเสื้อ


หน่วย ส้ม


หน่วย แปรงสีฟัน


หน่วย ไก่




การนำไปประยุกตใช้

  • เราสามารถนำเทคนิควิธีการทำแผ่นพับนี้ไปใช้ได้ในหลายโอกาส เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และยังเป็นสื่อหนึ่งที่เป็นตัวช่วย ที่สามารถช่วยเหลือทางคุณครูหรือโรงเรียนได้อีกด้วย





เทคนิคในการสอน


- การใช้กระดาษเป็นสื่อในการโชว์การพับแผ่นพับและบอกรายละเอียดของแต่ละหน้าของแผ่นพับโดยผ่านทางโปรเจคเตอร์ เพื่อที่นักศึกษาจะได้เห็นอย่างชัดและแจ่มแจ้ง



การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง  :  ชอบที่ได้ออกแบบแผ่นพับ เพราะเป็นคนชอบออกแบบสิ่งต่างๆอยู่แล้วด้วย ทำให้การทำงานไปมีความสุขไป   

เพื่อน : มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม มีส่วนร่วมและรับฟังข้อเสนอของแต่ละบุคคล    

อาจารย์  คอยแนะนำและขยายความในสิ่งที่ไม่เข้าใจ และคอยยกตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางให้แก่นักศึกษา







                                 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.





กิจกรรมในวันนี้

ช่วงที่ 1 การแยกประเภทของเล่นที่เพื่อนๆประดิษฐ์

  1. พลังงานจลน์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานศักดิ์
  • ธนู
  • ลูกโป่งยิงลูกบอล
  • หนูวิ่ง
  • กบกระโดด
  • รถหลอดด้าย
  • รถล้อเดียว
  • แท่นยิง
  • กังหันบิน
  • รถของเล่น


2. แรงดันน้ำ
  • นักประดาน้ำ
  • เรือนักประดาน้ำ



3. เสียง

  •  จั๊กจั่น
  • กระป๋องผิวปาก
  • กลองแขก
  • ไก่กระต๊าก


4. แรงลม แรงดันอากาศ
  • โมบายสีรุ้ง
  • ไหมพรหมเต้นระบำ
  • เป่ารถ
  • รถพลังลูกโป่ง
  • บูมเมอแรง
  • ถ้วยกระโดด
  • จรวดจากหลอดกาแฟ
  • เครื่องบินเหินเวหา



5. แรงโน้มถ่วง
  • วงล้อมหาสนุก
  • ตุ๊กตาล้มลุก
  • เขาวงกต
  • ซีดีร่อน





ช่วงที่ 2 การนำเสนอวิจัย


ว่ิจัยเรื่องที่ 1 การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2
(ศรีนวล ศรีอ่า)
ความมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ความสำคัญ
ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ
  5. ทักษะการลงความคิดเห็น

วิจัยเรื่องที่ 2 การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2
วัตถุประสงค์  
    เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและทำไปทดสอบวัดผลก่อนและหลังเพื่อเปรียบเทียบคะแนน

การดำเนินกิจกรรม
  1. แว่นขยาย ให้เด็กได้ใช้แว่นขยายในการสำรวจสิ่งรอบๆตัว
  2. แสง
  3. เสียงจากธรรมชาติ
  4. เสียงที่เกิดจากคน

วิจัยเรื่องที่ 3 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (สุมาลี หมวดไธสง)
    มุ่งศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการหาความสัมพันธ์ จากการได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง



วิจัยเรื่องที่ 4 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน (ศศิพรรณ สำแดงเดช)
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
การดำเนินกิจกรรม
  1. ปริศนาคำทาย
  2. เล่านิทาน
  3. ตั้งคำถามชักชวนให้เด็กทำการทดลอง
  4. ลงมือทำการทดลอง กิจกรรมพับเรือ




ช่วงที่ 3 ทำ Cooking




ขั้นที่ 1 จัดแจงอุปกรณ์ในการทำ

  • แป้งวอฟเฟิล
  • เนยจืด
  • ไข่
  • ถ้วยเล็ก
  • ที่ตีแป้ง
  • น้ำเปล่า
  • ใส้ใส่วอฟเฟิล



ขั้นที่ 2 แบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม เพื่อไม่ให้วุ่นวายในการประกอบอาหาร 


ขั้นที่ 3 ฟังบรรยายจากอาจารย์ ถึงขั้นตอนการทำ


ขั้นที่ 4 มาเอาของประจำกลุ่มตนเองจากนั้นลงมือปฏิบัติ
  • เทแป้งใส่ถ้วย
  • ใส่น้ำทีละนิด อย่าให้เหลว
  • ใส่ไข่ลงไป ตีให้เข้ากัน
  • ใส่เนยจืดลงไป
  • จากนั้นตักใส่ถ้วยเล็ก



ขั้นที่ 5 เมื่อผสมแป้งเสร็จแล้ว แบ่งให้เพื่อนในกลุ่มทุกคน เพื่อที่จะไปใส่กระทะวอฟเฟิล 










การนำไปประยุกตใช้


  • นำวิธีการสรุปวิจัยไปใช้ในวิชาอื่นได้
  • นำขั้นตอนการทำวอฟเฟิลไปทำร่วมกันกับเด็กได้
  • นำวิธีการสอนในการทำอาหารไปใช้ได้จริง






เทคนิคในการสอน


- บรรยาย และให้คำแนะนำ
                            






การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง  :    สนุกกับการทำวอฟเฟิล อร่อยและรู้สึกอยากจะทำอีก ทำที่บ้านทำให้ทุกคนในบ้านได้กิน และการนำเสนอวิจัยของตนเอง สามารถผ่านไปได้ด้วยดี ข้อมูลครบถ้วยตามที่อาจารย์ต้องการ เวลาอาจารย์ถามแล้วเราตอบได้ รู้สึกดีใจ ที่เตรียมการมาดี  เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดี  อาจารย์ ชอบทีอาจารย์นำกิจกรรมการประกอบอาหารมาทำในชั้นเรียน ทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด และยังได้ความรู้อีกด้วย พร้อมคำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิจัยหรือการประกอบอาหาร







                                 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



กิจกรรมในวันนี้

- เป็นการนำเสนอการสอนหน้าชั้นของแต่ละกลุ่มในแต่ละหน่วย
กลุ่มที่ 1 โดนกลับไปปรับปรุงแก้ไข
กลุ่มที่ 2 หน่วยกบ (ส่วนประกอบของกบ)
ขั้นนำ ถามเกี่ยวกับกบ
ขั้นสอน ร้องเพลงกบ
        กบกบกบ   กบมันมีสี่ขา
ขาหลังกระโดดมา    มันแลบลิ้นแพล็บๆๆๆ

เพิ่มเติม 
  • ต้องถามเนื้อหาในเพลงก่อน ว่าในเพลงบอกอะไรบ้าง
  • เด็กๆสังเกตนะคะลักษณะของกบมีสีอะไร แล้วครูต้องคอยจดบันทึก
  • มีการอธิบายลักษณะกบทั้งสองตัวแล้วนำไปเปรียบเทียบในกราฟ เพื่อสรุปหาความต่างความเหมือน

   
กลุ่มที่ 3 หน่วยกะหล่ำปลี (ประโยชน์และโทษ)



นำเข้าสู่ด้วยการร้องเพลง กะหล่ำปลี ใช้คำถามกับเด็กในเนื้อเพลง เช่น กะหล่ำปลีทำอะไรได้บ้าง พูดไปเรื่อยๆพร้อมทั้งจดบันทึกลงตาราง 

เพิ่มเติม
  • ในเนื้อเพลงบอกอะไร มันต้องเกี่ยวกะกะหล่ำปลี ไม่ควรนอกเรื่อง
  • นอกจากประโยชน์ในเนื้อเพลง เด็กๆคิดว่ากะหล่ำปลีมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง ให้เด็กๆตอบจากประสบการณ์เดิม 
  • หาสิ่งเชื่อมโยงกับกำหล่ำปลี
  • ควรแต่งนิทานจะดีกว่าเพลง เพราะเนื้อหาจะควบคุมได้มากกว่า
  • ในตารางประโยชน์และโทษอาจจะมีรูปติดตรงหัวข้อ
  • เปลี่ยนจากโทษเป็นข้อพึงระวัง
  • ควรมีการจัดลำดับให้ดี
กลุ่มที่ 4 ส้ม (ประโยชน์ของส้ม)


มีการร้องเพลงเพื่อให้เด็กสงบ แล้วนำรูปภาพมาให้ดู มีการประกอบอาหาร คือ น้ำส้มคั้น บอกวิธี และให้เด็กลงมือทำเอง

เพิ่มเติม
  • มีอุปกรณ์มาวาง ขั้นนำให้บอกอุปกรณ์ ถามว่าครูจะมาทำอะไรให้เด็กๆดูนะ
  • บอกกระบวนการคั้นน้ำส้ม ต้องล้างมือ ถ้าไม่ล้างมันจะเป็นยังไงคะ
  • เมื่อคั้นน้ำส้มให้เด็กดูเสร็จแล้ว ให้เด็กออกมาคั้นน้ำส้ม ให้เด็กได้มีส่วนร่วม และค่อยแบ่งกลุ่มให้เด็กออกมาทำการทดลอง
กลุ่มที่ 5 หน่วยดอกมะลิ (การประกอบอาหาร)


ร้องเพลงเก็บเด็ก จากนั้นท่องคำคล้องจอง

ดอกมะลิ
        ดอกเอ๋ยดอกมะลิ   คุณค่านั้นมีมากหลาย
ทั้งปลูกนำไปขาย           เมื่อได้มานำไหว้พระ
อีกทั้งทำน้ำอบ             กลิ่นประดุจมวลดอกไม้
ประกอบอาหารได้          มะลินั้นคุณมากมี
 นำดอกมะลิมาชุบแป้งทอด ก่อนลงมือทำ แป้งมีสถานะสีขาวเมื่อเราทอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ให้เด็กจับแป้ง น้ำ ครูใช้คำถามว่าเด็กรู้สึกอย่างไรและให้เด็กตอบ

เพิ่มเติม
  • อาจจะนำมาสน 2 วันได้ อย่าเอามารวมกัน
  • ครูจะต้องตั้งคำถาม ตอนนี้ไฟกระทะร้อน ถ้าครใส่น้ำมันลงไป มันจะเกิดปฏิกิริยาอย่างไร บูรณาการไปวิทยาศาสตร์ให้ได้
กลุ่มที่ 6 หน่วยไก่ (วิธีการดูแลรักษา)




เก็บเด็กให้สงบโดยการร้องเพลง จากนั้นคุณครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการท่องคำคล้องจองร่วมกันกับเด็ก

       ก ไก่ กุ๊กกุ๊ก   เช้าอยู่ทุ่งนา
สายอยู่ทุ่งหญ้า        เย็นพาเข้าสุ่ม
เดินย่องยุ่มๆ          คุ้ยเขี่ยอาหาร
รวมทั้งพืชผัก         ข้าวเปลือกข้าวสาร
ที่เป็นอาหาร          ทั้งหนอนไส้เดือน
และทุกหกเดือน       ต้องฉีดวัคซีน
เพื่อป้องกันโรค       ให้ไก่แข็งแรง

จากคำคล้องจอง เด็กๆสังเกตเห็นอะไรในคำคล้องจองบ้างคะ เด็กก็จะตอบ ครูก็จะแตก Mind Map เมื่อหมดจากคำคล้องจองแล้ว ครูก็จะเสริมความรู้ให้กับเด็ก แล้วครูก็แตก Mind Map เพิ่มไปอีก จากนั้นสรุปให้เด็กอีกรอบ

เพิ่มเติม
  • ควรจะทำบอร์ดคำคล้องจองมาไว้เลยจะดีมาก 
  • เพลงที่นำมาน่าจะสอนในช่วงเช้าเป็นกิจกรรมเคลื่อนไหว
กลุ่มที่ 7 หน่วยปลาทู (ประกอบอาหาร)



เพิ่มเติม
  • ควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ถ้ามันชิ้นใหญ่อย่างที่นำมาสอนไม่เหมาะ



การนำไปประยุกตใช้

นำเทคนิคการสอนและคำแนะนำเพิ่มเติมไปปรับใช้เวลาสอนเด็กในหน่วยต่างๆ




เทคนิคในการสอน


- ใช้การยกตัวอย่าง และบรรยาย ในสิ่งที่กำลังสอน
                            


การประเมินในชั้นเรียน



ตนเอง  :     ตั้งใจจัดเตรียมการสอนมายังไม่ค่อยดี แต่คิดว่าทำเต็มที่แล้วค่ะ ข้อบกพร่องจะนำกลับไปปรับแก้ไขให้ดีขึ้น   

เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการฟังเวลาเพื่อนออกไปสอนหน้าชั้นเรียน 

อาจารย์ คอยแนะนำเทคนิคและวิธีการสอน การใช้คำถามกับเด็กๆ การสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและหัวข้อในแต่ละวัน ทำให้นักศึกษามองเห็นแนวทางที่จะนำไปปรับใช้ต่อไปให้ดีขึ้น