Welcome to the blog of MISS WANWIPA PONGAM doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย





ชื่อวิจัย  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
THE DEVELOPMENT OF BASICSCIENCE SKILLS FOR YOUNG CHILDREN USING HERBAL DRINKACTIVITIES Full Text

ปริญญานิพนธ์ของ  วนิชชา    สิทธิพล
AN ABSTRACT BY   WANITCHA  SITTIPON

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY




ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการทำกิจกรรม
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการทำกิจกรรม



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  • แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ตัวแปรที่ศึกษา
  1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
  2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
  • การสังเกต
  • การจำแนก
  • การวัด
  • การสื่อความหมายข้อมูล



วิธีการดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ
     
     เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรด้วยการสนทนา การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย หรือการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและสร้างความพร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรม

ขั้นดำเนินการ
     
     แนะนำส่วนผสม วัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร พร้อมทั้งสร้างข้อตกลงเบื้องต้นในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร จากนั้นเด็กเข้ากลุ่มกลุ่มละ 5 คน โดยเด็กมีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มก่อนที่จะเริ่มทำเครื่องดื่มสมุนไพร และลงมือปฏิบัติจริงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยในขั้นตอนนี้ครูมีหน้าที่ในการแนะนำและกระตุ้นให้เด็กเกิดทักาะการสังเกต จำแนก และชั่ง ตวง วัด เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ทุกคนแต่ละกลุ่มร่วมกันเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาด

ขั้นสรุป
 
     เด็กและครูร่วมกันสรุปขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ทบทวนกระบวนการในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยที่ครูใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จำแนก ชั่ง ตวง วัด มาสื่อความหมาย



ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร  (น้ำฝรั่ง)




จุดประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต : สามารถบอกสักษณะของน้ำฝรั่งได้
  • การจำแนก : สามารถบอกความแตกต่างของปริมาณน้ำฝรั่งที่คั้นได้จากฝรั่งลูกเล็ก ฝรั่งลูกใหญ่ได้
  • การวัด : สามารถตวงน้ำเชื่อมที่นำมาปรุงน้ำฝรั่งได้
  • การสื่อความหมายข้อมูล : สามารถร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและครู
 2.  เพื่อให้เด็กได้รู้จักวัสดุอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำน้ำฝรั่ง
 3.  เพื่อให้เด็กสามารถทำน้ำฝรั่งตามขั้นตอนได้


เนื้อหา

    น้ำฝรั่ง ทำได้โดยน้ำฝรั่งเฉพาะเนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียด บีบคั้นน้ำฝรั่งและกรองกากด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย และรับประทานได้



ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
  1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง "ผลไม้" พร้อมทำท่าทางประกอบ แล้วสนทนาซักถาม โดยใช้คำถามดังนี้
  • เด็กๆ ชอบทานผลไม้อะไรในเพลง
  • เด็กคิดว่าฝรั่งนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง


ขั้นดำเนินการ
  1. ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม
  2. ครูแนะนำกิจกรรมน้ำฝรั่งให้กับเด็กๆ ดังนี้
  • เด็กล้างฝรั่งผลที่ตนเลือกด้วยน้ำสะอาด
  • ครูหั่นเนื้อฝรั่งให้เด็กเป็นชิ้นเล็กๆ
  • เด็กๆบีบคั้นน้ำฝรั่งและกรองกากด้วยผ้าขาวบาง
  • เด็กๆเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย และรับประทานได้
  3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นที่ควรปฏิบัติการทำน้ำฝรั่ง ได้แก่
  • ล้างมือก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง
  • ขณะทำกิจกรรมเด็กๆไม่ควรพูดคุยเสียงดังหรือเล่นกัน
  • ระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้า
  • หลังจากทำกิจกรรมแล้วช่วยกันเก็บอุปกรณ์ของกลุ่มและทำความสะอาดให้เรียบร้อย
  4. เด็กเลือกเข้ากลุ่มกลุ่มละ 5 คน เลือกตัวแทนเด็กออกมารับอุปกรณ์
  5. เด็กๆ แต่ละกลุ่มลงมือทำน้ำฝรั่งตามวิธีการของกลุ่มตนเอง
  6. เด็กและครูร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับการทำน้ำฝรั่ง ดังนี้
  • น้ำฝรั่งที่เด็กๆคั้นได้มีลักษณะอย่างไร
  • ระหว่างฝรั่งลูกเล็กฝรั่งลูกใหญ่ ฝรั่งลูกไหนคั้นน้ำได้ปริมาณมากกว่า
  • เด็กๆใส่น้ำเชื่อมลงไปในน้ำฝรั่งกี่ช้อน
  7. เมื่อทำเสร็จ เด็กๆ ช่วยกันล้างและเก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาดสถานที่ให้เรียบร้อย


ขั้นสรุป 

  1. เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงขั้นตอนการทำน้ำฝรั่ง ดังนี้
     น้ำฝรั่ง สามารถทำได้โดยนำฝรั่งเฉพาะเนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียด บีบคั้นน้ำฝรั่งและกรองกากด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย และรับประทานได้ โดยฝรั่งลูกใหญ่จะคั้นน้ำฝรั่งได้มากกว่า


สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

  1. ส่วนผสมในการทำน้ำฝรั่ง ได้แก่ ฝรั่ง น้ำเชื่อม เกลือป่น น้ำ
  2. เครื่องครัว ได้แก่ เครื่องปั่น ผ้าขาวบาง แก้ว ชาม ช้อน


การประเมินผล
  1. สังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรม
  2. สังเกตการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

ภาคผนวก
เพลง "ผลไม้"  (ไม่ทราบนามผู็แต่ง)

ฉันชอบผลไม้   กล้วยไข่และละมุด
                      ทั้งเงาะมังคุด        ลางสาดลำไย
                      ขนุน น้อยหน่า       แตงโมแตงไทย
                      มะม่วงใบใหญ่        ฝรั่ง พรุทรา





สรุป

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาทำให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การจำแนก การวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป








วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



กิจกรรมในวันนี้

  • การออกแบบแผ่นพับ สานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง รวมทั้งขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆที่ทางโรงเรียนสามารถให้ผู้ปกครองยื่นมาเข้ามาช่วยเหลือได้เมื่อคราวจำเป็น

หน่วย กบ


หน่วย กล้วย


หน่วย กะหล่ำปลี


หน่วย ดอกมะลิ


หน่วย ผีเสื้อ


หน่วย ส้ม


หน่วย แปรงสีฟัน


หน่วย ไก่




การนำไปประยุกตใช้

  • เราสามารถนำเทคนิควิธีการทำแผ่นพับนี้ไปใช้ได้ในหลายโอกาส เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และยังเป็นสื่อหนึ่งที่เป็นตัวช่วย ที่สามารถช่วยเหลือทางคุณครูหรือโรงเรียนได้อีกด้วย





เทคนิคในการสอน


- การใช้กระดาษเป็นสื่อในการโชว์การพับแผ่นพับและบอกรายละเอียดของแต่ละหน้าของแผ่นพับโดยผ่านทางโปรเจคเตอร์ เพื่อที่นักศึกษาจะได้เห็นอย่างชัดและแจ่มแจ้ง



การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง  :  ชอบที่ได้ออกแบบแผ่นพับ เพราะเป็นคนชอบออกแบบสิ่งต่างๆอยู่แล้วด้วย ทำให้การทำงานไปมีความสุขไป   

เพื่อน : มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม มีส่วนร่วมและรับฟังข้อเสนอของแต่ละบุคคล    

อาจารย์  คอยแนะนำและขยายความในสิ่งที่ไม่เข้าใจ และคอยยกตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางให้แก่นักศึกษา







                                 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.





กิจกรรมในวันนี้

ช่วงที่ 1 การแยกประเภทของเล่นที่เพื่อนๆประดิษฐ์

  1. พลังงานจลน์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานศักดิ์
  • ธนู
  • ลูกโป่งยิงลูกบอล
  • หนูวิ่ง
  • กบกระโดด
  • รถหลอดด้าย
  • รถล้อเดียว
  • แท่นยิง
  • กังหันบิน
  • รถของเล่น


2. แรงดันน้ำ
  • นักประดาน้ำ
  • เรือนักประดาน้ำ



3. เสียง

  •  จั๊กจั่น
  • กระป๋องผิวปาก
  • กลองแขก
  • ไก่กระต๊าก


4. แรงลม แรงดันอากาศ
  • โมบายสีรุ้ง
  • ไหมพรหมเต้นระบำ
  • เป่ารถ
  • รถพลังลูกโป่ง
  • บูมเมอแรง
  • ถ้วยกระโดด
  • จรวดจากหลอดกาแฟ
  • เครื่องบินเหินเวหา



5. แรงโน้มถ่วง
  • วงล้อมหาสนุก
  • ตุ๊กตาล้มลุก
  • เขาวงกต
  • ซีดีร่อน





ช่วงที่ 2 การนำเสนอวิจัย


ว่ิจัยเรื่องที่ 1 การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2
(ศรีนวล ศรีอ่า)
ความมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ความสำคัญ
ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ
  5. ทักษะการลงความคิดเห็น

วิจัยเรื่องที่ 2 การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2
วัตถุประสงค์  
    เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและทำไปทดสอบวัดผลก่อนและหลังเพื่อเปรียบเทียบคะแนน

การดำเนินกิจกรรม
  1. แว่นขยาย ให้เด็กได้ใช้แว่นขยายในการสำรวจสิ่งรอบๆตัว
  2. แสง
  3. เสียงจากธรรมชาติ
  4. เสียงที่เกิดจากคน

วิจัยเรื่องที่ 3 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (สุมาลี หมวดไธสง)
    มุ่งศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการหาความสัมพันธ์ จากการได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง



วิจัยเรื่องที่ 4 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน (ศศิพรรณ สำแดงเดช)
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
การดำเนินกิจกรรม
  1. ปริศนาคำทาย
  2. เล่านิทาน
  3. ตั้งคำถามชักชวนให้เด็กทำการทดลอง
  4. ลงมือทำการทดลอง กิจกรรมพับเรือ




ช่วงที่ 3 ทำ Cooking




ขั้นที่ 1 จัดแจงอุปกรณ์ในการทำ

  • แป้งวอฟเฟิล
  • เนยจืด
  • ไข่
  • ถ้วยเล็ก
  • ที่ตีแป้ง
  • น้ำเปล่า
  • ใส้ใส่วอฟเฟิล



ขั้นที่ 2 แบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม เพื่อไม่ให้วุ่นวายในการประกอบอาหาร 


ขั้นที่ 3 ฟังบรรยายจากอาจารย์ ถึงขั้นตอนการทำ


ขั้นที่ 4 มาเอาของประจำกลุ่มตนเองจากนั้นลงมือปฏิบัติ
  • เทแป้งใส่ถ้วย
  • ใส่น้ำทีละนิด อย่าให้เหลว
  • ใส่ไข่ลงไป ตีให้เข้ากัน
  • ใส่เนยจืดลงไป
  • จากนั้นตักใส่ถ้วยเล็ก



ขั้นที่ 5 เมื่อผสมแป้งเสร็จแล้ว แบ่งให้เพื่อนในกลุ่มทุกคน เพื่อที่จะไปใส่กระทะวอฟเฟิล 










การนำไปประยุกตใช้


  • นำวิธีการสรุปวิจัยไปใช้ในวิชาอื่นได้
  • นำขั้นตอนการทำวอฟเฟิลไปทำร่วมกันกับเด็กได้
  • นำวิธีการสอนในการทำอาหารไปใช้ได้จริง






เทคนิคในการสอน


- บรรยาย และให้คำแนะนำ
                            






การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง  :    สนุกกับการทำวอฟเฟิล อร่อยและรู้สึกอยากจะทำอีก ทำที่บ้านทำให้ทุกคนในบ้านได้กิน และการนำเสนอวิจัยของตนเอง สามารถผ่านไปได้ด้วยดี ข้อมูลครบถ้วยตามที่อาจารย์ต้องการ เวลาอาจารย์ถามแล้วเราตอบได้ รู้สึกดีใจ ที่เตรียมการมาดี  เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดี  อาจารย์ ชอบทีอาจารย์นำกิจกรรมการประกอบอาหารมาทำในชั้นเรียน ทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด และยังได้ความรู้อีกด้วย พร้อมคำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิจัยหรือการประกอบอาหาร