THE DEVELOPMENT OF BASICSCIENCE SKILLS FOR YOUNG CHILDREN USING HERBAL DRINKACTIVITIES Full Text
ปริญญานิพนธ์ของ วนิชชา สิทธิพล
AN ABSTRACT BY WANITCHA SITTIPON
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY
- เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการทำกิจกรรม
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการทำกิจกรรม
- แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
- ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
- การสังเกต
- การจำแนก
- การวัด
- การสื่อความหมายข้อมูล
ขั้นนำ
เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรด้วยการสนทนา การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย หรือการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและสร้างความพร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
แนะนำส่วนผสม วัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร พร้อมทั้งสร้างข้อตกลงเบื้องต้นในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร จากนั้นเด็กเข้ากลุ่มกลุ่มละ 5 คน โดยเด็กมีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มก่อนที่จะเริ่มทำเครื่องดื่มสมุนไพร และลงมือปฏิบัติจริงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยในขั้นตอนนี้ครูมีหน้าที่ในการแนะนำและกระตุ้นให้เด็กเกิดทักาะการสังเกต จำแนก และชั่ง ตวง วัด เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ทุกคนแต่ละกลุ่มร่วมกันเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาด
ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ทบทวนกระบวนการในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยที่ครูใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จำแนก ชั่ง ตวง วัด มาสื่อความหมาย
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร (น้ำฝรั่ง)
- เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกต : สามารถบอกสักษณะของน้ำฝรั่งได้
- การจำแนก : สามารถบอกความแตกต่างของปริมาณน้ำฝรั่งที่คั้นได้จากฝรั่งลูกเล็ก ฝรั่งลูกใหญ่ได้
- การวัด : สามารถตวงน้ำเชื่อมที่นำมาปรุงน้ำฝรั่งได้
- การสื่อความหมายข้อมูล : สามารถร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและครู
2. เพื่อให้เด็กได้รู้จักวัสดุอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำน้ำฝรั่ง
3. เพื่อให้เด็กสามารถทำน้ำฝรั่งตามขั้นตอนได้
น้ำฝรั่ง ทำได้โดยน้ำฝรั่งเฉพาะเนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียด บีบคั้นน้ำฝรั่งและกรองกากด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย และรับประทานได้
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
- ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง "ผลไม้" พร้อมทำท่าทางประกอบ แล้วสนทนาซักถาม โดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆ ชอบทานผลไม้อะไรในเพลง
- เด็กคิดว่าฝรั่งนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง
ขั้นดำเนินการ
- ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม
- ครูแนะนำกิจกรรมน้ำฝรั่งให้กับเด็กๆ ดังนี้
- เด็กล้างฝรั่งผลที่ตนเลือกด้วยน้ำสะอาด
- ครูหั่นเนื้อฝรั่งให้เด็กเป็นชิ้นเล็กๆ
- เด็กๆบีบคั้นน้ำฝรั่งและกรองกากด้วยผ้าขาวบาง
- เด็กๆเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย และรับประทานได้
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นที่ควรปฏิบัติการทำน้ำฝรั่ง ได้แก่
- ล้างมือก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง
- ขณะทำกิจกรรมเด็กๆไม่ควรพูดคุยเสียงดังหรือเล่นกัน
- ระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้า
- หลังจากทำกิจกรรมแล้วช่วยกันเก็บอุปกรณ์ของกลุ่มและทำความสะอาดให้เรียบร้อย
4. เด็กเลือกเข้ากลุ่มกลุ่มละ 5 คน เลือกตัวแทนเด็กออกมารับอุปกรณ์
5. เด็กๆ แต่ละกลุ่มลงมือทำน้ำฝรั่งตามวิธีการของกลุ่มตนเอง
6. เด็กและครูร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับการทำน้ำฝรั่ง ดังนี้
- น้ำฝรั่งที่เด็กๆคั้นได้มีลักษณะอย่างไร
- ระหว่างฝรั่งลูกเล็กฝรั่งลูกใหญ่ ฝรั่งลูกไหนคั้นน้ำได้ปริมาณมากกว่า
- เด็กๆใส่น้ำเชื่อมลงไปในน้ำฝรั่งกี่ช้อน
- เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงขั้นตอนการทำน้ำฝรั่ง ดังนี้
น้ำฝรั่ง สามารถทำได้โดยนำฝรั่งเฉพาะเนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจนละเอียด บีบคั้นน้ำฝรั่งและกรองกากด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย และรับประทานได้ โดยฝรั่งลูกใหญ่จะคั้นน้ำฝรั่งได้มากกว่า
- ส่วนผสมในการทำน้ำฝรั่ง ได้แก่ ฝรั่ง น้ำเชื่อม เกลือป่น น้ำ
- เครื่องครัว ได้แก่ เครื่องปั่น ผ้าขาวบาง แก้ว ชาม ช้อน
การประเมินผล
เพลง "ผลไม้" (ไม่ทราบนามผู็แต่ง)
ฉันชอบผลไม้ กล้วยไข่และละมุด
ทั้งเงาะมังคุด ลางสาดลำไย
ขนุน น้อยหน่า แตงโมแตงไทย
มะม่วงใบใหญ่ ฝรั่ง พรุทรา
การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาทำให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การจำแนก การวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น