Welcome to the blog of MISS WANWIPA PONGAM doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.





กิจกรรมในวันนี้

ช่วงที่ 1 การแยกประเภทของเล่นที่เพื่อนๆประดิษฐ์

  1. พลังงานจลน์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานศักดิ์
  • ธนู
  • ลูกโป่งยิงลูกบอล
  • หนูวิ่ง
  • กบกระโดด
  • รถหลอดด้าย
  • รถล้อเดียว
  • แท่นยิง
  • กังหันบิน
  • รถของเล่น


2. แรงดันน้ำ
  • นักประดาน้ำ
  • เรือนักประดาน้ำ



3. เสียง

  •  จั๊กจั่น
  • กระป๋องผิวปาก
  • กลองแขก
  • ไก่กระต๊าก


4. แรงลม แรงดันอากาศ
  • โมบายสีรุ้ง
  • ไหมพรหมเต้นระบำ
  • เป่ารถ
  • รถพลังลูกโป่ง
  • บูมเมอแรง
  • ถ้วยกระโดด
  • จรวดจากหลอดกาแฟ
  • เครื่องบินเหินเวหา



5. แรงโน้มถ่วง
  • วงล้อมหาสนุก
  • ตุ๊กตาล้มลุก
  • เขาวงกต
  • ซีดีร่อน





ช่วงที่ 2 การนำเสนอวิจัย


ว่ิจัยเรื่องที่ 1 การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2
(ศรีนวล ศรีอ่า)
ความมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ความสำคัญ
ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ
  5. ทักษะการลงความคิดเห็น

วิจัยเรื่องที่ 2 การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2
วัตถุประสงค์  
    เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและทำไปทดสอบวัดผลก่อนและหลังเพื่อเปรียบเทียบคะแนน

การดำเนินกิจกรรม
  1. แว่นขยาย ให้เด็กได้ใช้แว่นขยายในการสำรวจสิ่งรอบๆตัว
  2. แสง
  3. เสียงจากธรรมชาติ
  4. เสียงที่เกิดจากคน

วิจัยเรื่องที่ 3 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (สุมาลี หมวดไธสง)
    มุ่งศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการหาความสัมพันธ์ จากการได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง



วิจัยเรื่องที่ 4 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน (ศศิพรรณ สำแดงเดช)
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
การดำเนินกิจกรรม
  1. ปริศนาคำทาย
  2. เล่านิทาน
  3. ตั้งคำถามชักชวนให้เด็กทำการทดลอง
  4. ลงมือทำการทดลอง กิจกรรมพับเรือ




ช่วงที่ 3 ทำ Cooking




ขั้นที่ 1 จัดแจงอุปกรณ์ในการทำ

  • แป้งวอฟเฟิล
  • เนยจืด
  • ไข่
  • ถ้วยเล็ก
  • ที่ตีแป้ง
  • น้ำเปล่า
  • ใส้ใส่วอฟเฟิล



ขั้นที่ 2 แบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม เพื่อไม่ให้วุ่นวายในการประกอบอาหาร 


ขั้นที่ 3 ฟังบรรยายจากอาจารย์ ถึงขั้นตอนการทำ


ขั้นที่ 4 มาเอาของประจำกลุ่มตนเองจากนั้นลงมือปฏิบัติ
  • เทแป้งใส่ถ้วย
  • ใส่น้ำทีละนิด อย่าให้เหลว
  • ใส่ไข่ลงไป ตีให้เข้ากัน
  • ใส่เนยจืดลงไป
  • จากนั้นตักใส่ถ้วยเล็ก



ขั้นที่ 5 เมื่อผสมแป้งเสร็จแล้ว แบ่งให้เพื่อนในกลุ่มทุกคน เพื่อที่จะไปใส่กระทะวอฟเฟิล 










การนำไปประยุกตใช้


  • นำวิธีการสรุปวิจัยไปใช้ในวิชาอื่นได้
  • นำขั้นตอนการทำวอฟเฟิลไปทำร่วมกันกับเด็กได้
  • นำวิธีการสอนในการทำอาหารไปใช้ได้จริง






เทคนิคในการสอน


- บรรยาย และให้คำแนะนำ
                            






การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง  :    สนุกกับการทำวอฟเฟิล อร่อยและรู้สึกอยากจะทำอีก ทำที่บ้านทำให้ทุกคนในบ้านได้กิน และการนำเสนอวิจัยของตนเอง สามารถผ่านไปได้ด้วยดี ข้อมูลครบถ้วยตามที่อาจารย์ต้องการ เวลาอาจารย์ถามแล้วเราตอบได้ รู้สึกดีใจ ที่เตรียมการมาดี  เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดี  อาจารย์ ชอบทีอาจารย์นำกิจกรรมการประกอบอาหารมาทำในชั้นเรียน ทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด และยังได้ความรู้อีกด้วย พร้อมคำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิจัยหรือการประกอบอาหาร







                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น