Welcome to the blog of MISS WANWIPA PONGAM doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มาประดิษฐ์ของเล่นกันเถอะ

.ไก่กระต๊าก .








วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

แก้วกระดาษ
ดินสอ
ไม้บรรทัด
กรรไกร
กระดาษแข็ง / กระดาษ A4
เชือกขาว
กาวลาเท็ก / กาวสองหน้า
คัตเตอร์
ฟองน้ำ
สีไม้
ไม้ลูกชิ้น
วิธีทำ
  1. นำแก้วกระดาษมาเจาะรูตรงกลางตรงฐานของแก้ว                           


2. นำเชือกขนาด 2 ฟุต ร้อยลงไปในรูและผูกเชือกกับไม้ลูกชิ้นขนาด 2.50 เซนติเมตร ไว้และดึงไว้ที่ฐานของก้นแก้ว


3. นำกระดาษ A4 มาวาดรูปไก่ 2 รูป  วาดเสร็จแล้วระบายสีให้สวยงาม


4. ตัดรูปไก่มาทากาวแล้วแปะกระดาษแข็ง และตัดอีกครั้งเพื่อความคงทนและแข็งแรงของรูปไก่

5. นำกาวสองหน้ามาแปะหลังรูปไก่ให้ทั่วแล้วแปะลงไปที่แก้วกระดาษทั้งสองข้าง
เสร็จเรียบร้อย

วิธีเล่น
  1. นำฟองน้ำมาตัดขนาดพอเหมาะกับมือมาชุบน้ำและรูดไปที่เชือก 
  2. ชูไก่กระต๊ากพอเหมาะกับระดับสายตา
  3. จับเชือกและค่อยๆดึงเชือกไปตามความช้าและเร็ว แล้วแต่เสียงที่เราอยากให้มันดัง
  4. การจับเชือกให้ดังมีเทคนิคด้วยคือเมื่อนำฟองน้ำมารูดที่เชือกแล้วการกระตุกเชือกให้เกิดเสียงเหมือนเสียงไก่กำลังขัน กระต๊าก ๆๆ ต้องจับกระตุกรูดลงไปตามเชือกไม่ใช่กระตุกเข้าหาแก้ว เสียงจะต่างกัน ไม่เชื่อลองชมที่คลิป VDO การเล่นไก่กระต๊ากได้เลยคะ







หลักการวิทยาศาสตร์

เมื่อมีการสั่นสะเทือนของเชือกแล้วทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเชือกที่ติดอยู่กับไม้กับแก้วกระดาษ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผ่านเส้นเชือก ทำให้เกิดเสียงก้องในแก้วกระดาษ เสียงจะเกิดตามที่เรากระตุกเส้นเชือก

















                                 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วันที่ 24 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


# ได้เห็นเทคนิคและกระบวนประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในหลายๆชิ้น แต่ละชิ้นมีความน่าสนใจและน่าทึ่งมาก  



# ได้เห็นตัวอย่างการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ในกรอบมาตรฐานของวิทยาศาสตร์ เขียนอย่างไรให้ถูกต้อง และเหมาะสม จากตัวอย่างที่เห็นจะเป็นเรื่องสัตว์ อาจารย์จะมีตัวอย่างการเขียนที่ถูกมาหลายแผ่นมาก อาจจะยังไม่หมด เพราะเวลาในการเรียนด้วย แต่ในรายละเอียดที่นำมาให้นักศึกษาได้ดู มีทั้งวัตถุประสงค์ , สาระการเรียนรู้ ,เนื้อหาMind Map , แนวคิด, ประสบการณ์สำคัญ ,กรอบพัฒนาการและกิจกรรม , บูรณาการทักษะรายวิชา ,แผนที่ใยแมงมุม และการเขียนแผนรายวันที่ถูกต้อง 




กิจกรรมในวันนี้

- นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกตใช้

นำสื่อวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นและของเล่นบางชิ้นทำให้รู้ว่าไม่จำเป็นต้องเสียเงินแพงๆ แต่แค่เพียงใช้สมอง และการลงมือปฏิบัติมัน โดยใช้ทักษะต่างๆ คำนึงถึงพัฒนาการเด็ก ของเล่นชิ้นนั้นอาจไม่แพงมากในราคา แต่มันจะเป็นของเล่นที่แพงมากในความรู้ และกระบวนการทางความคิด เด็กได้ความรู้ ครูก็มีความสุขค่ะ




เทคนิคในการสอน


- ใช้จอภาพในการนำเสนอแผนการจัดประการณ์
- ใช้การยกตัวอย่าง และบรรยาย ในสิ่งที่กำลังสอน
                            


การประเมินในชั้นเรียน



ตนเอง  :     สนุกกับการเรียน มีความกระตือรือร้นในการหาคำมาอธิบายผลงานของตนเอง

เพื่อน : มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบของเล่นของตนเอง และสนใจในสิ่งที่เพื่อนกำำลังนำเสนอผลงาน

อาจารย์ ให้คำแนะนำและคอยกระตุ้นให้นักศึกษาใช้ข้อมูลได้ถูกต้องและเหมาะสมกับของเล่น ว่าแท้จริงแล้วของเล่นที่ตนเองนำมาเสนอหน้าชั้นใช้หลักการใดทางวิทยาศาสตร์ ทำให้นักศึกษาได้คิด และ ฝึกการพูดข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วย







                                 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วันที่ 18 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

การเขียนแผน ให้เด็กได้ประสบการณ์ทางภาษา นอกจากเสียงพูดก็ยังมีเขียนด้วย
จะเป็นการยกตัวอย่างระหว่างกลุ่มปากกากับกลุ่มดินสอ ซึ่งปากกาจะมีมากกว่าดินสอ !
- การถามว่าในมือครูมีปากกาอยู่กี่ด้าม เป็นการให้เด็กได้สังเกต และเกิดการคาดคะเนขึ้น จากนั้นนับร่วมกับเด็ก
- เด็กๆบอกครูสิคะ ว่าเครื่องเขียนอะไรที่เป็นปากกา ให้เด็กได้หยิบมาวางไว้ในถาดสีเขียว การที่ให้เด็กได้ออกมาหยิบเป็นการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม แล้วเด็กก็จะออกมาหยิบ กลายเป็นการแยกประเภท คือจะมีปากกากับไม่ใช่ปากกา
- นับดูสิ กลุ่มปากกามีอยู่ทั้งหมดกี่แท่ง นี่ก็เป็นการให้เด็กได้นับจำนวน
- การอ่านหนังสือต้องอ่านจากซ้ายไปขวา เช่นเดียวกันเวลาออกมาวางและนับจำนวนปากกา ก็ต้องนับจากซ้ายไปขวาเช่นเดียวกัน ซ้ายของเด็กจะคือขวาของครู เมื่อนับแล้ว ก็ควรมีตัวเลขหรือไม่ก็เป็นการให้เด็กออกมาเขียนหรือติดตัวเลข
-  เด็กๆบอกครูสิคะ ปากกากับไม่ใช่ปากกาอะไรมีมากกว่ากัน แล้วนำมาจับคู่ 1:1 (ถ้าหยิบปากกามา 1 ดินสอก็ต้อง 1 ) ให้เด็กได้เห็นแบบชัดเจน
- หยิบออกมาหมดอะไรยังเหลือนะ นั่นก็คือปากกา แสดงว่าดินสอนั้นน้อยกว่าปากกา และปากกามีมากกว่าดินสอ และมากกว่าอยู่กี่แท่ง


- จากภาพเด็กจะตอบอย่างที่ตาเห็น ไม่ได้ตอบตามเหตุผลเลยบอกว่าดินสอมากกว่า แต่ถ้าเด็กโตมาหน่อยก็จะบอกว่าปากกานั้นมีมากกว่า เริ่มมีเหตุผลแสดงว่าเด็กได้ผ่านขั้นอนุรักษ์มาแล้ว แสดงว่าเด็กกำลังจะเริ่มเปลี่ยนจากรูปธรรมเป็นนามธรรม การสังเกตเหล่านี้เริ่มเป็นทักษะวิทยาศาสตร์



การนำไปประยุกตใช้

นำความถามทีอาจารย์ใช้กับนักศึกษาในการยกตัวอย่าง นำไปใช้กับเด็กๆ เพื่อเป็นการตั้งคำถามให้เด็กได้มีส่วนร่วมและโอกาสเลือก คิด และตัดสินใจ ในเรื่องการตอบคำถามต่างๆ เป็นการเปิดประเด็นความรู้ให้เด็กได้คิดตาม ครูต้องเป็นผู้กระตุ้นสิ่งเหล่านี้ให้กับตัวเด็กด้วย



เทคนิคในการสอน

นำปากกาและดินสอมาเป็นสื่อในการสอน ในการยกตัวอย่างการสอน การเขียนแผน การใช้คำถามกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมและได้ทักษะการคิดและวิเคราะห์




การประเมินในชั้นเรียน



ตนเอง : ชอบกิจกรรมที่อาจารย์จัดโดยการยกตัวอย่างโดยหาสิ่งของที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากและราคาแพง มาเป็นสื่อการสอน ได้ทั้งความรู้และเทคนิควิธีการต่างๆ

เพื่อน : ตั้งใจเรียนและจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์กำลังพูด เพื่อนำไปปรับปรุงในแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มตนเอง

อาจารย์ มีเทคนิคในการพูดและการสอนมากมาย มาให้นักศึกษาได้เห็นเป็นแนวทางในการมุ่งมั่นที่จะสอนเด็กได้ต่อไปอย่างถูกต้องและถูกหลักการสอนอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและวิชาที่สอน






                                 

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วันที่ 10 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




                 ..MIDTERM EXAM..






วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

# ลากิจธุระ เหตุเพราะ กลับต่างจังหวัดมางานศพคุณยาย ที่จังหวัดบุรีรัมย์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วันที่ 26 กันยายน 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.






กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 การทำของเล่นที่มีชื่อว่า ปีกนก
  •  วัสดุอุปกรณ์

1.กระดาษ 
2.กรรไกร
3.คลิ๊ปหนีบกระดาษ

  •   วิธีทำ



กระดาษ


พับครึ่ง


ตัดกลางฝั่งใดฝั่งหนึ่งให้ถึงจุดพับครึ่งกลางของกระดาษ


พับปีกกระดาษแยกออกจากกัน


พับฐานกระดาษนิดหน่อยแล้วเสียบคลิ๊ปหนีบกระดาษลงไปดังภาพ




หลังจากนั้นนำไปทดลองเล่น


ให้แถวที่ 1 และ 2 พับครึ่ง แล้วตัดแบ่งครึ่งถึงเส้นตรงกลาง
แถว 3 – 4 – 5 พับครึ่งเช่นเดียวกันแต่ตัดครึ่งหนึ่งพอดี
จากนั้นพับที่ฐานนิดหนึ่ง แล้วเสียบสคิ๊ปไปที่ฐาน
ให้เพื่อนแถวที่ 1 และ 2 ออกมาโยน ผลปรากฏว่า หมุนได้นานกว่าก่อนที่จะตกลงสู่พื้น
แถว 3 – 4 – 5 จะตกเร็วมาก
การทำกิจกรรมเช่นนี้ครูต้องใจเย็น ไม่ใช่บอกเด็กทุกอย่าง บางสิ่งบางอย่างควรส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือกระทำ ทดลอง คิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง เราต้องการให้เด็กเกิดทักษะการสังเกต ได้เกิดความสงสัย ว่า เอ๊ะ! ทำไมแถว1และ2 ถึงหมุนได้นาน และทำไมถึงหมุน แล้วทำไม 3 -4 -5 จึงไม่หมุน อาจจะหมุนแต่เล็กน้อย และทำไมถึงตกลงสู่พื้นได้เร็ว
อันดับแรก ครูต้องช่วยกระตุ้นเด็ก เมื่อเกิดความสงสัย เกิดปัญหา (เอ๊ะ! ทำไมของเราไม่หมุนนะ ) จึงนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบว่ามันต่างกันที่ตรงไหน  เราต้องให้เด็กพิจารณาในทุกๆส่วน เมื่อของเล่นก็เหมือนกัน มันต่างกันตรงไหนนะเมื่อเด็กตอบว่า ต่างกันตรงปีก ปีกเพื่อน 2 แถวแรกยาว แต่ปีก 3-4-5มันสั้นกว่า ก็เกิดการคาดเดาว่า ถ้าให้แถว 3 -4 -5
ตัดปีกให้ยาวเหมือน แถว 1-2 คงจะหมุน นั่นคือเป็นการตั้งสมมติฐาน
อันดับสอง ให้แถว 3 -4 -5 ตัดปีกให้ยาวขึ้นเท่ากับแถว 1-2 แล้วออกมาโยนใหม่อีกครั้ง ผลที่ได้คือ หมุนได้นานขึ้นจริงๆ
แน่นอน การที่โยนปีกนกขึ้นไปข้างบน มีแรงโน้มถ่วง ทุกสิ่งอย่างจะต้องลงสู่ที่ต่ำแน่นอน และ มันมีอากาศต้านอยู่ทำให้มันลงช้า อากาศไปหมุนรองใต้ปีก เปรียบเหมือนกับเครื่องบินนั่นเอง
# ความหลากหลายวิธีการที่เกิดการค้นพบนำไปสู่การทดลอง ทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์
# การลงมือกระทำเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การทำแบบนี้อยู่บนพื้นฐานทฤษฎี constructionism (learning by doing )
# เมื่อเด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุมันสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เครื่องมือคือประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเล่นชิ้นนี้เด็กสามารถทำได้เอง เพราะมันง่าย ไม่ซับซ้อน
# ทบทวนตามหลักการ กระทำ ทดลอง นำไปเปรียบเทียบ เกิดการค้นพบขึ้น
ข้อเสนอแนะ การจักการศึกษาไม่ใช่ที่ โรงเรียนเท่านั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนก็มีส่วนร่วม จึงต้องมีสื่อ เช่นแผ่นพับ หรือการสร้าง Facebook เกี่ยวกับโรงเรียน ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเด็ก ให้แก่ผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ 2 ให้เพื่อนๆออกมาพูดบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปปฐมวัย 5 คน
ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                       ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด  เพิ่มเติม

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้    เพิ่มเติม

สอนลูกเรื่องอากาศ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย เพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขา   เพิ่มเติม

ดอกอัญชัญทดสอบกรด-ด่าง   เพิ่มเติม

กิจกรรมที่ 3 ติด mind map ของแต่ละกลุ่มลงบนกระดานหน้าชั้นเรียน 
                 จากนั้นอาจารย์ก็บรรยายแต่ละแผ่น รวมทั้งอธิบายเพิ่มเติม แนะนำส่วนใดต้องแก้ไขให้ถูกหลักและดีขึ้น  ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีชนิด ลักษณะ สี พื้นผิว ประโยชน์และโทษหรือข้อพึงระวัง สิ่งเหล่านี้เรียกว่า การจัดการสอนแบบอุปนัยหรือนิรนัย ที่สำคัญครูต้องเป็นนักออกแบบด้วย การจัดทำ mind map แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดประสบการณ์ให้กับตัวเด็ก





แก้ไขกลุ่มไก่







การนำไปประยุกตใช้

เราสามารถนำวัสดุที่ไม่แพง วัสดุเหลือใช้ มาทำเป็นของเล่นที่มีประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับเด็กได้ และสามารถสอนในสิ่งที่อยู่รอบๆตัวโดยไม่สิ้นเปลือง 


เทคนิคในการสอน

                              อาจารย์มีกิจกรรมการทำปีกนกที่เด็กๆสามารถทำได้ มาทำร่วมกับนักศึกษาก่อนเข้าบทเรียน โดยเป็นการสร้างความกระตือรือร้นที่จะเรียนในรายวิชานี้  มีการบรรยายของ mind map ของเพื่อนแต่ละกลุ่ม โดยมีกลุ่ม ไก่ กบ ปลา กล้วย ส้ม ผีเสื้อ ปลา แปรงสีฟัน ดอกมะลิ และ กะหล่ำปลี 


การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง : ร่วมตอบอย่างมีความคิดและสนุกสนานกับการเรียนในวันนี้
เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และ ร่วมกันตอบในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอนได้ถาม

อาจารย์ : คอยให้คำแนะนำในการแก้ไข map ของแต่ละกลุ่ม เพื่องานออกมาจะได้ดีและสมบูรณ์  และจะมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำเสมอ ทำให้สนุกไปกับการเรียน และได้รับความรู้ได้อย่างไม่เครียดและน่าเบื่อ