Welcome to the blog of MISS WANWIPA PONGAM doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วันที่ 19 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.





ความรู้ที่ได้รับ


- ได้รู้เนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับบทความที่เพื่อนๆได้หามา
- ได้รู้การทำของเล่นง่ายๆเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เพื่อการสอนเด็กและการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กอนุบาล
- ได้รู้ทั้ง 6 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
ประกอบไปด้วย
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา


การนำไปประยุกตใช้

สามารถนำกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ได้ลงมือกระทำในวันนี้ไปใช้เล่นกับเด็กได้ สอนเด็กได้ เพราะเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ ไม่เกินความสามารถ ไม่ยากเกินไปสำหรับเด็กอนุบาล ส่วนการดำเนินกิจกรรมอาจจะมีการเล่านิทานก่อนก็ได้เพื่อเป็นการคลายความเครียดให้กับเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสนใจและมีความกระตือรือร้นต่อการเรียนรู้
                 






เทคนิคในการสอน


- อาจารย์มีอุปกรณ์มาให้นักศึกษาดู ว่ามันคืออะไร ทำให้นักศึกษาได้เกิดความสงสัย และอาจารย์ก็มาขยายความให้ทีหลัง
- มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำกันสนุกสนาน มีการใช้จินตนาการสร้างสรรค์ทำให้การเริ่มเรียนนั้นไม่น่าเบื่อ แถมยังเป็นที่น่าสนใจ ว่าสิ่งที่ทำออกมานั้นจะเป็นอะไร คืออะไร และใช้อย่างไร
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมมีดังนี้
1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.สก็อตเทปหรือกาว
4.สี
5.ไม้เสียบลูกชิ้น
6.ดินสอ



วิธีทำ
1. กระดาษพับเป็น 4 ส่วน
2. แบ่งเพื่อนๆ 4 คน
3. นำส่วนที่ได้มาพับครึ่ง
4. วาดรูปที่สัมพันธ์กัน เช่น ต้นไม้ กับ ผลไม้
5. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นติดไว้กลางกระดาษข้างใดข้างหนึ่ง
6. พับกระดาษ ให้รูปอยู่ทางด้านนอก ใช้กาวหรือสก็อตเทปแปะเพื่อปิดกระดาษตามมุม
7. ทดลองหมุนอย่างเร็ว

ผลที่ได้คือ ต้นไม้ที่ว่างปล่าวกับผลไม้ เมื่อหมุนเร็วๆ ก็จะเห็นต้นไม้นั้นมีผลไม้อยู่บนต้น ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็กสามารถทำได้ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้รับความรู้คู่สนุกสนาน ไปด้วย
- ใช้รูปแบบการสอนโดยมีสื่อ คือ Power Point และมีคำอภิปราย







การประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง - ทำผลงานออกมายังไม่น่าประทับใจเพราะยังไม่รู้หลักการว่างานออกมาเป็นยังไงต้องทำอย่างไร จึงไม่ค่อยประทับใจเท่าไรกับงานของตน แต่งานที่ได้รับมอบหมายชอบค่ะ
เพื่อน -  งานของเพื่อนๆออกมาน่าทึ่งมาก ทำออกมาได้เหมาะและเป๊ะมาก 
อาจารย์ - มีของมาให้เล่นมีกิจกรรมมาให้ทำ สนุกและน่าสนใจมากค่ะ พยายามอภิปรายให้นักศึกษาได้เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากสำหรับการคิด วิเคราะห์


                                 





วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่ 12กันยายน 2557
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
Photobucket


ความรู้ที่ได้รับ

                 

                      - ได้รู้เนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับบทความที่เพื่อนๆได้หามา 

Photobucket การนำไปประยุกตใช้ 
                   
- นำบทความที่ได้รู้จากเพื่อนๆไปปรับใช้ในการสอน สามารถไปคิดค้นคว้าเพิ่มเติมแล้วนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ
- สื่อการสอนที่อาจารย์นำเสนอนำไปเป็นต้นแบบในการสอนเด็กโดยใช้สื่อเป็นภาพมากกว่าคำบรรยาย
- นำเทคโนโลยีที่ใช้สร้างบล็อกไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ หรือสร้างองค์ความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ได้
- การเลือกใช้คำถาม ต้องคำนึงถึงความสามารถ การรับรู้ ของเด็กด้วย


Photobucketเทคนิคในการสอน
           
               อาจารย์ใช้รูปแบบการสอนโดยมีสื่อ คือ Power Point และมีคำอภิปรายโดยไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาในการนำเสนอ ส่วนมากมีแต่ภาพ และอาจารย์จะชี้แจงในรายละเอียดนั้นๆ มีคำถามให้นักศึกษาได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ และ ร่วมกันตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ไปด้วย การยกตัวอย่าางจากการใช่สื่อภายในห้องเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายขึ้นเห็นถึงรูปธรรม สามารถคิดตามได้ทันที มีการเค้นคำตอบให้นักศึกษาตอบได้ถูกต้องตามหลักการดังคำตอบของอาจารย์ ซึ่งคำตอบของนักศึกษาไม่มีผิด
               


 Photobucketการประเมินในชั้นเรียน


ตนเอง - ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน และมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
เพื่อน - ให้ความร่วมมือในการร่วมกันตอบคำถาม ทำให้บรรยากาศการเรียนไม่น่าเบื่อ สนุกสนานกับการเรียน
อาจารย์ - มีการยกตัวอย่าง ทำให้นักศึกษามองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีการกระตุ้นนักศึกษาให้ตื่นตัวตลอดเวลา 



                                  




บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วันที่ 5 กันยายน 2557
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.







ความรู้ที่ได้รับ

                    

                      






 การนำไปประยุกตใช้ 
                   
- สามารถนำทักษะการใช้ mind map ไปทำร่วมกับวิชาอื่นๆได้ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเองและผู้สอน
- เมื่อเรารู้ความหมายความสำคัญแล้วเราสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้ ตามความสามารถของเด็ก และผู้สอนจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กด้วย
- การใช้คำถาม สามารถทำให้เด็กมีความกระตือรือร้น บางครั้งเราอาจจะปรับคำพูดให้เด็กเข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อการเรียนรู้ที่สนุกสนาน






เทคนิคในการสอน

                 อาจารย์ใช้รูปแบบการสอนโดยมีสื่อ คือ Power Point และมีคำอภิปรายโดยไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาในการนำเสนอ ส่วนมากมีแต่ภาพ และอาจารย์จะชี้แจงในรายละเอียดนั้นๆ มีคำถามให้นักศึกษาได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ และ ร่วมกันตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ไปด้วย มีกระดาษมาให้นักศึกษา แต่ละคนก็สรุปความรู้ในวันนี้จากการเรียนเป็น mind map เพื่อความเข้าใจของตนเอง และเป็นการวัดนักศึกษาเมื่อเรียนไปแล้วได้รู้อะไรบ้าง





 การประเมินในชั้นเรียน

ตนเอง - มีความกระตือรือร้นที่จะร่วมตอบคำถาม เพื่อให้การเรียนนั้นไม่น่าเบื่อ ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดและสามาารถนำไปสรุป mind map ของตนเองได้
เพื่อน - มีการแลกเปลี่ยนความรู้ตอนตอบคำถาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน 
อาจารย์ - คอยบอกหลักในการตอบคำถามได้ถูกจุดประสงค์ตามที่อาจารย์ได้ตั้งคำถามเพื่อถามนักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้คิดตลอดเวลา อาจารย์ไม่เคยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยในเวลาสอน สอนเต็มที่ และคอยแนะนำเสมอระหว่างเรียนในคาบ




                                                               

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วันที่ 29 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10 - 16.40  น.





งดการเรียนการสอน
หมายเหตุ : กิจกรรมการรับน้องอย่างสร้างสรรค์






ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้ความสามัคคีในหมู่คณะ 
- ได้ความเป็นหนึ่งเดียวกันของสาขา คณะ และมหาวิทยาลัย
- เรียนรู้การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี 
- สืบสานประเพณีของการรับน้องให้รุ่นต่อๆไป 

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1



บันทึกอนุทิน
วันที่ 22 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


 ความรู้ที่ได้รับ

                      ในวันนี้อาจารย์ได้แนะแนวทางในการสอนของรายวิชาการจัดประสบการ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เนื่องจากวันนี้เป็นวันเเรกที่ได้พบกันของภาคเรียนที่ 1 แนวการสอนและรายละเอียดก็จะอยู่ใน Course Syllabus ท้งหมด ยกประเด็นย่อยๆคือ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีของรายวิชา กฎระเบียบข้อตกลงในการเข้าเรียน และเข้ารียนทุกครั้งต้องใส่เสื้อเอกสีชมพูเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน  คะแนนต่างๆ ที่จะได้จากการทำงานทั้งกลุ่ม งานเดี่ยว การสอบ 100 % และ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ประกอบไปด้วย  
- ด้านคุณธรรมจริยธรรม
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะทางปัญญา
- ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้สื่อเทคโนโลยี
- ด้านจัดการเรียนรู้

                      การใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลในแต่ละครั้งนั่นก็คือการทำบล็อก อาจารย์บอกถึงรายละเอียดต่างๆในการสร้างบล็อกของรายวิชานี้อย่างละเอียด เพื่อที่นักศึกษาจะได้นำไปสร้างได้ถูกหลักและถูกต้องตามที่อาจารย์ต้องการ โดยมีองค์ประกอบในบล็อก คือ 
- ความรู้ที่ได้รับ 
- การนำไปประยุกต์ใช้
- เทคนิคในการสอนของอาจารย์ 
- การประเมินในชั้นเรียน ประกอบไปด้วย ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ประเมินอาจารย์

 การนำไปประยุกตใช้ 
                        นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฏระเบียบข้อตกลงต่างๆ นำไปปฏิบัติกับตนองและอาจนำไปใช้กับเด็กในเรื่องข้อตกลงเวลาทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในรายวิชาอื่นได้

 การประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง - ตั้งใจฟังในรายละเอียดที่อาจารย์ได้บอกทั้งเรื่องCourse Syllabus และการสร้างบล็อก
เพื่อน - ให้ความร่วมมือในการเข้าเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์เช่นกัน
อาจารย์ - แนะแนวทางให้แก่นักศึกษาได้ครบและละเอียดถี่ถ้วน โดยไม่มีข้อแย้งใดๆทั้งสิ้น






วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความน่ารู้ : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?

วันที่ 4 กันยายน 2557
  
เวลา 13:10-16:40

........................



               หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
               อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้  กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่ามากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นและมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้างและจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
              สสวท.จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้ และได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศเช่น หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัย แพทย์ นักจิตวิทยา และนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศและวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาจากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 
             เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาคส่วน ร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา  แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก  เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป”

ที่มา : นิตยสาร สสวท.
www.ipst.ac.th
http://prthai.com/articledetail.asp?kid=5244